บ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น
บ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น
บ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น Minimal Style แต่งบ้าน สไตล์มินิมอล ที่กําลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ คือสไตล์การตกแต่งที่เรียบง่าย ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น หากแต่มากด้วยประโยชน์ รวมไปถึงการเลือกใช้งานสิ่งต่างๆ ตามความจําเป็นเท่านั้น ซึ่งจะถูกจัดวางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย เอกลักษณ์ในการตกแต่งสไตล์มินิมอลนั้นมักจะมีโทนสีแบบโมโนโทนหรือสีอ่อนๆ รวมถึงการออกแบบที่มีเส้นสายตาที่ตรงและชาร์ป มีความสมดุลและความผ่อน คลาย เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่คัดสรรมาตกแต่งในบ้านสไตล์นี้
มักจะตอบสนองการใช้งานได้อย่างครบถ้วน ท่ามกลางความไม่มากไม่น้อยจนเกินพอดี การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลยังนิยมที่จะจัดพื้นที่สเปสให้มีความว่างและดูกว้างเข้าไว้ โดยไม่นิยมการสะสมสิ่งของหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จําเป็น การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลจึงดูเรียบง่าย น้อยชิ้น แต่ทว่าครบถ้วนในเรื่องของประโยชน์การใช้สอย การตกแต่งบ้านสไตล์นี้จึงเหมาะมากๆ สําหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่รักความสงบและชอบการตกแต่งบ้านที่เน้นความสะอาด ปลอดโปร่ง โล่งสบายเป็นอย่างยิ่ง เราไปดูกันดีกว่าว่าข้อดีของการมีบ้านสไตล์มินิมอลและวิธีการตกแต่งบ้านของคุณให้เป็นสไตล์นี้ จะมีอะไรและต้องทําอย่างไรบ้าง
บ้านหลังคาจั่วแหลมโมเดิร์นมินิมอล
บ้านสไตล์มินิมอล สามเหลี่ยมข้าวปั้น ผนังสองชั้นกันเสียงรถไฟ รูปแบบของบ้านในญี่ปุ่น บางครั้งเราก็รู้สึกตื่นตะลึง เพราะคาดไม่ถึงว่าจะคิดและทำได้ขนาดนี้ อย่างเช่น บ้านที่โปร่งใสมองเห็นทะลุข้างใน บ้านดีไซน์หลังคาพับไปมาเหมือนกระดาษโอริงามิ หรือบ้านที่ดูล้ำสมัยเหมือนอยู่ในยานอวกาศ แต่บทที่จะน้อย เรียบ ธรรมดา ก็ง่ายเสียจนตัดรายละเอียดที่เราคุ้นออกไปจนหมด เหลือเพียงรูปทรงเรขาคณิตที่คมชัดและภายในที่โปร่งสว่าง บ้านหลังนี้ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์นมินิมอลที่ดูเรียบง่าย แต่สะดุดตาทีหลังคาจั่วแหลมคล้ายข้าวปั้นห่อสาหร่ายที่เป็นอาหารโปรดของชาวญี่ปุ่น
บ้านพื้นที่ใช้สอย 113 ตารางเมตรหลังนี้ สร้างในเมืองโอกากิ จังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ภายนอกมีลักษณะหลังคาจั่วแหลมไร้ชายคาช่องแสงเล็ก ๆ ในสไตล์โมเดิร์นมินิมอลที่เรียบง่าย ตัวบ้านวางกลางชุมชนที่รายล้อมด้วยบ้านร่วมสมัยและอาคารแบบญี่ปุ่นโบราณ ด้วยสีและรูปทรงทำให้แม้บ้านจะดูเด่นแต่ไม่โดดจนประหลาดเกินไป ความพิเศษของบ้านนอกจากดีไซน์ภายนอกแล้ว ภายในยังออกแบบระบบฉนวนป้องกันเสียงรบกวน เพราะบริเวณนี้เป็นทางผ่านรถไฟสองรางที่วิ่งผ่านตลอด จึงต้องกันให้กันเสียงมากที่สุด
จากภายนอกดูเหมือนบ้านไม่มีชายคา ในความเป็นจริงสถาปนิกออกแบบให้ผนังบ้านด้านข้างขยับลึกเข้าไปด้านใน ทำให้มีส่วนหลังคาที่ยื่นออกมาปกป้องตัวบ้านจากแดดและฝนอยู่ ส่วนทางเข้าก็เชื่อมต่อกับภายนอกได้ง่ายผ่านประตูบานเลื่อนกรอบไม้บานใหญ่ ต่างจากอีกด้านที่ดูเรียบแทบไม่มีช่องเปิด เพื่อปิดเป็นส่วนตัวและช่วยกันเสียง
ถ้ามองไกล ๆ จะรู้สึกว่าบ้านเป็นชั้นเดียวสูงๆ เนื่องจากอาคารดูเรียบเป็นก้อนเดียว แต่เมื่อเข้ามาในบ้านจะเห็นว่าเป็นบ้านสองชั้น มีห้องนั่งเล่นที่โปร่งโล่งเชื่อมต่อกับด้านนอก เป็นสเปซว่างๆ และประตูบานกระจกก่อนเข้าถึงพื้นที่ใช้ชีวิตหลัก ๆ ของบ้าน ทำให้บ้านเหมือนมีปราการ 2 ชั้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยปิดกั้นเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีขึ้น และยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของฉนวนกันความร้อน พร้อมกับให้รู้สึกว่าบ้านมีระดับของความเป็นส่วนตัว รักษาความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างเปิดในบางจุดของบ้าน
ภายในบ้านเปิดโล่งด้วยโถงสูง double space และแปลนแบบ open plan การเชื่อมต่อสเปซว่างๆ ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ก่อให้เกิดความสบายทั้งในแง่ของสายตาและการใช้งาน สถาปนิกเลือกใช้สีขาวที่เติมความสว่างและกว้างขวาง แต่ก็ไม่ได้ปล่อยให้ความเรียบนิ่งมีมากเกินไปจนดูไร้ชีวิตชีวา ด้วยการแทรกเติมงานไม้สักเข้าไปในส่วนของพื้น เฟอร์นิเจอร์ กรอบประตูหน้าต่าง จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่เป็นสัญลักษณ์ของครอบครัวได้ดี
พื้นที่เหลือข้างๆ ช่องว่างโถงสูง จัดสรรให้เป็นห้องนอนพักผ่อนในชั้นบน ซึ่งสามารถมองเห็นพื้นที่ใช้งานข้างล่างได้ การเดินทางของแสงและอากาศภายในก็ทำได้ง่าย เป็นหนึ่งข้อดีของการเปิดเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวตั้ง แตกต่างจากบ้านสองชั้นทั่วไปที่มักจะปิดแบ่งระหว่างชั้นอย่างชัดเจนที่ทำให้ติดต่อสื่อสารกันยาก และทำให้บ้านมืดกว่า
ระหว่างห้องส่วนตัวชั้นบนจะมีช่องว่างที่จัดไว้ทำหน้าที่เป็นระเบียงในบ้าน และสามารถปิดและเปิดประตูกระจกได้ เพื่อขยายการใช้งานห้องส่วนตัวแต่ละห้องให้กลายเป็นห้องใหญ่ ทำให้เกิดความรู้สึกเปิดกว้าง มีช่องทางรับแสงสว่าง แต่ก็ยังมีความสงบและอบอุ่น ไม่มีสิ่งเกินจำเป็นชวนให้พักผ่อน
เสียงรบกวนจากภายนอก เป็นหนึ่งมลพิษที่ทำลายความสงบในบ้าน ทำให้การอยู่อาศัยไม่สบาย เราอาจจะป้องกันและแก้ไขปัญหาเสียงได้หลายรูปแบบ อาทิ การก่อผนังบ้านแบบ 2 ชั้น โดยเลือกใช้ฉนวนที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงจากภายนอกคั่นตรงกลาง, การทำพื้นที่กันชนในด้านที่รับแสียง เหมือนบ้านนี้ที่ทำห้องโถงมีประตูกระจกกั้นก่อนเข้าถึงพื้นที่ใช้งานภายใน, การติดฝ้าเพดาน ยิ่งหากบนฝ้ามีฉนวนกันร้อนด้วย ก็จะเพิ่มคุณสมบัติการซับเสียงได้ด้วย อย่าลืมเช็คซีลขอบยางประตูหน้าต่างก็ต้องดูให้แนบสนิท แบบบ้าน
บ้านปูนสองชั้น เรียบ ง่าย สไตล์มินิมอล
หากให้นับสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีจริง ๆ Minimal Style อาจจะนับได้เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น แต่หากลองนับสิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราอยากได้ แน่นอนว่านิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว คงไม่เพียงพอต่อการนับให้ครบจำนวน ทุกวันนี้เรามักดำเนินชึวิตไปตามเส้นทางของความต้องการทั้งที่ตัวเองสร้างขึ้นและได้อิทธิพลจากสิ่งรอบด้าน จนหลงลืมไปว่า บางครั้งการดิ้นรนไขว้คว้าในสิ่งที่ต้องการ อาจต้องแลกด้วย เวลาที่เสียไป สุขภาพที่ถดถอย รวมถึงสุขภาพใจที่อาจจะย่ำแย่
บ้านเป็นปัจจัยสี่ นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี แต่บางครั้งเราใส่ความต้องการของเรามากเกินไป จนเกิดเป็นภาระทั้งในเรื่องการดูแลรักษาและค่าใช้จ่าย แบบบ้านที่นำมาให้ชมในบทความนี้ เป็นบ้านที่มีความเรียบง่ายเป็นหลัก เน้นความน้อยในเรื่องของการตกแต่ง เพื่อให้ได้ความมากในเรื่องของความผ่อนคลาย ออกแบบทรงกล่องสองชั้น ปูนฉาบเรียบสีขาว สบายตาแก่เจ้าของบ้านและผู้คนที่ผ่านไปมา 104 ตารางเมตร
ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ในเมือง ขนาดที่ดินไม่ได้เยอะ จึงต้องดีไซน์ให้มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว หน้าบ้านปิดทึบมีเพียงช่องแสงเล็ก ๆ เท่านั้น ผนังด้านหน้าตรงตำแหน่งของประตูบ้าน เว้าเข้าไป ยกระดับพื้นเป็นบันไดขึ้นจากด้านข้าง 3 – 4 ขั้น มีหลังคายื่นออกมาเล็กน้อย คอยกันแดดกันฝนก่อนเข้าบ้าน บริเวณข้างบ้านคือโรงจอดรถแบบโปร่ง ๆ เหมาะกับรถขนาดเล็กเพียงแค่ 1 คัน เพียงพอต่อการใช้งานของเจ้าของบ้านซึ่งเป็นคู่รักกัน
พื้นที่ใช้สอย 103 ตารางเมตร ทุกห้องคำนึงถึงการใช้งานจริงเป็นหลัก ลวดลายไม้สีน้ำตาลของพื้นบ้าน สร้างความอบอุ่นและอ่อนโยนให้แก่บ้านสีขาวล้วน ห้องนั่งเล่นมีประตูกระจกบานเลื่อนถึง 2 คู่ เปิดออกไปยังสวนหลังบ้านได้อย่างใกล้ชิด และถึงแม้จะมีพื้นที่สวนแค่เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถนั่งเล่นห้อยขาหาความสุขได้อย่างเพลิดเพลินตลอดทั้งวัน
ห้องครัวบิวท์อินเคาน์เตอร์ติดผนังรูปตัว L ติดตั้งหน้าบานและมือจับไว้เรียบร้อย เก็บอุปกรณ์ของใช้ให้เป็นระเบียบ มีตู้แขวนหน้าบานไม้ เครื่องดูดควันและช่องหน้าต่างกระจกบานเล็ก ๆ ที่ช่วยในการระบายกลิ่น ระบายอากาศอีกแรง
ออกแบบบันไดวน เพื่อใช้ขึ้นลงชั้นบนและชั้นล่าง ประหยัดพื้นที่ได้ดี ทั้งยังทำให้บ้านดูกิ๊บเก๋มีลูกเล่นขึ้นด้วย เพดานชั้นบนเจาะช่องแสงติดกระจกเพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้าถึง และปูพื้นด้วยไม้ เว้นระยะห่างให้เป็นเส้นสาย เพื่อให้มีช่องนำพาแสงจากชั้นบนลงสู่ชั้นล่าง ทางเดินตรงส่วนนี้จึงสว่างตลอดทั้งวัน แม้ไม่ได้เปิดไฟก็ตาม
ห้องนอนขนาดเล็ก มีเพียงเตียงนอนและโต๊ะเล็ก ๆ สำหรับนั่งอ่านหนังสือหรือทำงานเท่านั้น ใช้ประตูกระจกบานสไลด์ และติดตั้งหน้าต่างกระจก จึงไม่มีความคับแคบเหลือให้เห็น ห้องน้ำที่ใช้รวมกัน ทำการเปิดช่องแสงจากเพดานด้วยเช่นกัน แบ่งโซนเปียกโซนแห้งให้ง่ายต่อการดูแลทำความสะอาด ปูพื้น กรุผนังด้วยกระเบื้องสีเทาอ่อน เพิ่มความสว่างและน่าใช้งาน
สิ่งที่จำเป็น เมื่อถูกการออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้บ้านอยู่สบายจนลืมความต้องการมากมายที่เคยมีก่อนหน้านี้ไปจนหมดสิ้น ทำให้ต้องย้อนกลับมาคิด เราต้องการสิ่งนั้นจริง ๆ หรือ ถ้าไม่มีจะเป็นอะไรหรือเปล่า การถามตัวเองและการตอบตัวเองอย่างตรงไปตรงมา จะช่วยคัดกรองให้ชีวิตเรามีแต่สิ่งที่ควรต้องมี และจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างสบายตัวมากขึ้น
พื้นที่บนชั้นวางของ และบนพื้นไม่รก ทุกอย่างดูสบายตา
บ้านสไตล์มินิมอลจะต้องไม่เกะกะไปด้วยของใช้ ไอเท็ม หรือเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นคือถูกคัดมาแล้วว่าจำเป็นต่อการใช้ชีวิตจริงๆ ถ้าคุณมีของเก่าเก็บที่มีไว้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร จงนำของเหล่านั้นไปบริจาค หรือทิ้งซะ เพราะถ้ามันมีความสำคัญสำหรับคุณจริงๆ คุณคงไม่เก็บมันไว้ไม่เอาออกมาใช้สักทีอย่างนี้หรอกเช่นเดียวกับผนังห้อง ผนังห้องของบ้านสไตล์มินิมอลไม่ควรที่จะอัดแน่นไปด้วยกรอบรูป แต่ถ้าไม่อยากให้ห้องของคุณดูโล่งหรือดูจืดชืดจนเกินไป แนะนำว่าให้หาผลงานศิลปะเจ๋งๆ สัก 1-2 รูปมาติดพอ ส่วนตัวกรอบรูปก็ควรเป็นสีดำ หรือไม่ก็สีน้ำตาลแก่ เน้นพวกสีเรียบเป็นหลัก
หน้าต่างดีไซน์เรียบ
สำหรับหน้าต่าง ลองเลือกแบบเปลือยคู่กับผ้าม่านสีทึบ หรือจะติดม่านแบบไม้เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดูเป็นธรรมชาติก็ได้ แต่อะไรที่ดูหรูหรา ฟู่ฟ่า เกินความพอดี อย่างผ้าม่านลายดอก หรือลายแพทเทิร์นยุ่งเหยิงๆ นี่ แน่นอนว่าไม่ควรใช้
ควรเลือกใช้สีอ่อน หรือสีโมโนโทน
โทนสีที่ใช้สำหรับบ้านสไตล์มินิมอล ควรเป็นสีออกโมโนโทนหรือสีอ่อนๆ อย่างเช่นสีขาวที่เป็นสีสุดคลาสสิคสำหรับอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นมินิมอล หรือพวกสีเอิร์ธโทน อย่างเช่นสีน้ำตาล สีแทน สีฟ้า และสีเขียว ก็ใช้ได้เหมือนกัน เพราะสีเหล่าจะทำให้บ้านของคุณมีบรรยากาศที่ดูเรียบง่าย สงบ และผ่อนคลาย แต่ทั้งนี้คุณก็สามารถตกแต่งเพิ่มมิติ ด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่มีสีโดดเด่นได้บ้างเหมือนกัน
เป็นอย่างไรบ้างกับทิปส์และคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากกันสำหรับการตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอล เราหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากการอ่านบทความนี้ไปไม่มากก็น้อย จงจำเสมอว่า หัวใจหลักของการมีบ้านสไตล์มินิมอลก็คือ แนวคิดแบบ ‘Less is More’ มีความน้อย แต่มากด้วยประโยชน์ เฟอร์นิเจอร์ หรือของใช้ทุกอย่างควรเป็นของที่จำเป็น และมีประโยชน์จริงๆ กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคุณ อะไรที่ไม่จำเป็นจงตัดทิ้งมันไปซะ ยิ่งมีของน้อย ก็ยิ่งใช้ชีวิตได้ง่าย และสะดวกสบายขึ้น ไร้ภาระ ความกังวล หรือความเครียดอีกต่อไปclick here
10 ข้อดีของการแต่งบ้านแบบมินิมอล Minimal Style
1.เฟอร์นิเจอร์ต้องน้อยชิ้น มีเท่าที่จำเป็น
2.น่าดึงดูด ดูสบายตา
3.ทำความสะอาดได้ง่าย
4.พื้นที่วางของดูสะอาดเรียบร้อย
5.ใช้โทนสีอ่อนหรือโมโนโทนให้ดูสบายตา
6.มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
7.ตอบสนองการใช้งานจริง ฟังก์ชั่นการใช้งานครบ
8.ปลอดโปร่ง โล่งสบาย
9.คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
10.เหลือพื้นที่ว่างๆไว้