แบบบ้านสไตล์นอร์ดิกใหม่ๆ
แบบบ้านสไตล์นอร์ดิกใหม่ๆ
แบบบ้านสไตล์นอร์ดิกใหม่ๆ บ้านหลังคาจั่วลาดต่ำเมื่อธรรมชาติรอบด้านช่างสดชื่นและน่าหลงใหล การสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมา หากไม่ได้มีการเชื่อมโยงภายนอกเข้าสู่พื้นที่ภายในคงน่าเสียดายเป็นที่สุด เพราะสีเขียวจากกิ่งไม้ ใบหญ้าแม้จะดูเหมือนเป็นองค์ประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สามารถสร้างบรรยากาศให้การอยู่อาศัยน่าอภิรมย์และสุนทรีได้มากมายมหาศาล ซึ่งหากไร้ธรรมชาติบ้านคงขาดชีวิตชีวาอย่างแน่นอน
เนื่องด้วยใจรักธรรมชาติเป็นทุนเดิม เจ้าของบ้านจึงปรารถนาอยากมีบ้านพักอาศัยที่เป็นมิตรและกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แม้ดีไซน์ภายนอกจะมีความโมเดิร์นเอนเอียงไปทางนอร์ดิก แต่วัสดุที่นำมาใช้กรุผนังเลือกเป็นงานไม้ ตีตามแนวนอนให้เห็นลวดลายเสี้ยนของไม้ได้อย่างชัดเจน จึงเหมือนบ้านถูกห่อหุ้มด้วยความอบอุ่นอยู่เสมอ ทั้งยังช่วยลดเส้นสายความทันสมัยให้อ่อนโยนมากขึ้นอย่างที่ตั้งใจ
รูปทรงของหลังคาแนวจั่ว มีองศาค่อนข้างลาดต่ำ มุงด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อไม่ให้หลุดธีมจากสีของไม้ผนังมากเกินไป ซึ่งหากมองจากด้านข้างจะเห็นทรงจั่วได้อย่างเด่นชัด แต่เมื่อมองจากด้านหน้าเมื่อขับรถเข้ามาสู่แปลงที่ดินนั้น จะมองไม่เห็นทรงของหลังคา อารมณ์เหมือนบ้านกล่องแนวยาวมากกว่า
แม้ไม่มีภาพการตกแต่งภายในให้เห็น แต่ก็พอรู้ได้ว่าเน้นไปในธีมสีสว่าง เนื่องด้วยความต้องการให้การพักอาศัยรู้สึกเบาสบายในห้วงอารมณ์ สีขาวสว่างตัดกับสีน้ำตาลของไม้ ซึ่งได้เลือกเฉดสีให้อ่อนกว่าไม้ผนังที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอก
สังเกตได้ว่าผนังชั้นสองจะยื่นออกมามากกว่าผนังชั้นล่าง เพื่อช่วยในการป้องกันแสงแดดและกันฝนสาด เนื่องด้วยผนังในส่วนนี้ติดตั้งเป็นกระจกทั้งหมด การดีไซน์ให้มีส่วนยื่นส่วนเว้าจะสอดรับกับสภาพภูมิอากาศมากยิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติม
ระเบียงไม้และหลังคาที่ตีออกไปในโซนด้านหลัง เป็นพื้นที่พักผ่อนของครอบครัว ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด โดยไม่มีผนังมาปิดกั้น ทั้งเรื่องของแสงและลม รวมถึงกลิ่นอายของความสดชื่นสำหรับบ้านท่ามกลางพื้นที่สีเขียว Lighting หรือแสงสว่าง นับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการช่วยสร้างบรรยากาศให้แลดูน่าพักผ่อนมากขึ้นได้ อย่างเช่น บ้านหลังนี้เลือกใช้แสงไฟสีวอร์ม เฉดสีส้มอุ่น ๆ ที่กระจายไปยังทุกส่วนของบ้าน เติมเต็มความอบอุ่น และช่วยลดความรู้สึกโดดเด่นได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วยไม่มีบ้านใกล้เรือนเคียงอยู่ใกล้ ๆ ความรู้สึกว้าเหว่อาจเกิดขึ้นได้
Tropical Nodic บ้านเขตหนาวที่ปรับใช้ได้ในโซนร้อน
เทรนด์สถาปัตยกรรมสแกนดิเนเวียแถบยุโรปเหนือใน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่าสไตล์นอร์ดิก เป็นหนึ่งในสไตล์ที่ยังเป็นที่รักและไม่เคยจางหายไป ยังมีหลาย ๆ โซนของโลกที่ได้รับแรงบันดาลใจในการนำไปสร้างบ้านในฝัน ไม่เว้นแม้แต่ในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเราหรืออินโดนีเซีย ดูเผิน ๆ อาจจะรู้สึกขัดแย้งว่าบ้านเขตหนาวจะสร้างในเขตร้อนที่อบอุ่นทั้งวันจนเหมือนแทบไม่มีฤดูหนาวได้อย่างไร บ้านสไตล์ Nordic ที่ตั้งอยู่บนที่ดินขนาดกว้าง 6 เมตร ลึก 25 เมตร ประเทศอินโดนีเซียหลังนี้ จะเป็นคำตอบว่าการออกแบบที่อยู่อาศัยสไตล์สแกนดิเนเวียในเขตร้อนชื้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ทุกอย่างสามารถปรับตามความต้องการของคุณได้เช่นเดียวกับบ้าน RFL House หลังนี้
Tropical Scandinavian บ้านเย็นในเขตร้อน
การออกแบบบ้านหนึ่งหลัง สถาปนิกอาจได้แรงบันดาลใจจากหลาย ๆ แหล่งแต่ไม่ได้นำมาทั้งหมด บางครั้งก็เพียงดึงจุดเด่นบางอย่างมาปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง เช่น Facades บ้านนี้ที่ได้ไอเดียจาก สไตล์สแกนดิเนเวียที่หาได้ใน Pinterest และ Instagram เอกลักษณ์ของบ้านหลังนี้เห็นได้จากชุดสีโมโนโครม จั่วบ้านแหลมสูง 2 ระดับ ด้านหน้าตีทับด้วยไม้สีดำเห็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน ซึ่งเป็นหนึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบ้านสไตล์นอร์ดิกที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรูปจั่วสามเหลี่ยม ไม่ใช่อาคารสี่เหลี่ยมเหมือนบ้านสไตล์มินิมอลทั่วไป ด้านหลังเป็นอาคารคอนกรีตเปลือยให้ดูซ้อนกันด้วยสีที่ตัดกัน โดยเจตนาให้เหมือนปรากฏเป็นเงาอยู่ด้านหลัง
ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสไตล์สแกนดิเนเวียคือแนวคิดเรื่องพื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมากให้นำไปใช้ในอินโดนีเซียเขตร้อน “ บ้านหลังนี้ได้รับแรงบันดาลใจในรูปแบบบ้านแบบเปิดโล่งสไตล์นอร์ดิกและมินิมอล” นักออกแบบกล่าว เพราะสเปซเปิดโล่งทำให้การไหลเวียนของอากาศเข้าสู่บ้านเป็นธรรมชาติมากขึ้น จึงออกแบบให้พื้นที่ใช้สอยในบ้านมีความตื่อเนื่องกัน ลดการใช้ผนังทึบให้เหลือน้อยที่สุด ผนังด้านหนึ่งของบ้านติดตั้บานประตูกระจกแบบผลักเรียงกันไป 5 บาน ทำให้ผนังมีความยืดหย่นในการใช้งานและเชื่อมต่อภายนอกได้ดี กล่าวอีกนัยหนึ่งแนวคิดของบ้านหลังนี้สามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพอากาศเขตร้อน แม้จะมีต้นแบบมาจากบ้านเขตหนาวก็ตาม
แบบบ้านวิธีแก้ปัญหาในการออกแบบที่อยู่อาศัยสไตล์สแกนดิเนเวียที่ต้องนำมาปรับใช้ในเขตร้อนชื้นอีกประการคือ การสร้างลานหรือคอร์ทยาร์ดบริเวณพื้นที่ชั้นในของ RFL House ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดดักและกระจายลมให้การไหลเวียนของอากาศในพื้นที่ในบ้าน ให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกได้ถึงความใกล้ชิดธรรมชาติและทำให้บ้านเย็นขึ้นด้วย ผนังในพื้นที่ลานด้านในขนาด 6 x 3.2 ตร.ม. ตั้งใจทำด้วยปูนเปลือยเพื่อให้ดูเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติมากขึ้น เป็นหนึ่งมุมโปรดที่สมาชิกครอบครัวชอบใช้ในการพักผ่อน โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่มักจัดงานบาร์บีคิวหรือทานอาหารเช้าแบบสบาย ๆ ด้วยกัน
การออกแบบบ้านสไตล์สแกนดิเนเวียนในเขตร้อนชื้น ต้องใส่ใจกับฟังก์ชันที่ต้องเอื้อกับสภาพอากาศเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ขนาดความสูงของเพดาน นักออกแบบจงใจทำให้สูงมากขึ้นเป็น 2 เท่าแบบ Double space โดยไม่ลดทอนคุณค่าทางความงามตามแบบฉบับนอร์ดิก นักออกแบบกล่าวว่าเพดานสูงออกแบบมาเพื่อให้การไหลเวียนของอากาศเข้าสู่บ้านได้อย่างเหมาะสมที่สุด และการระบายอากาศร้อนทำได้ดีขึ้น เพดานสูงยังทำให้บ้านรู้สึกหรูหราขึ้นด้วย
อีกสิ่งที่ทำให้บรรยากาศภายใน RFL House พิเศษยิ่งขึ้นคือ ช่องแสงสกายไลท์ ระหว่างห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหารที่สามารถรองรับสภาพอากาศเขตร้อนได้ เนื่องจากสามารถปรับแสงในสเปซได้อย่างเหมาะสม นอกเหนือจากการเพิ่มแสงธรรมชาติให้สูงสุดแล้วสกายไลท์ยังแยกพื้นที่ทั้งสองทางอ้อม หากบ้านของคุณต้องการแสงธรรมชาติและลดการใช้ไฟในช่วงกลางวัน สกายไลท์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุด
สไตล์สแกนดิเนเวียมีจุดกำเนิดมาจากเขตหนาวที่ต้องการความอบอุ่นมาก จึงเน้นการใช้กระจกใสเพื่อเป็นตัวกลางดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน และใช้สีขาวหรือโทนสีสว่างเป็นหลักเพราะทำให้บรรยากาศดูสดใสขึ้นจากความอึมครึมในฤดูหนาวข้างนอก งานไม้สีอ่อน ๆ ก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลายและใกล้ชิดธรรมชาติน่าอยู่อาศัย สไตล์สแกนดิเนเวีย
แต่ความนิ่งเรียบอาจทำให้บ้านดูจืดชืด ก็สามารถใช้สีดำหรือไม้ย้อมสีเข้มตัดเพื่อทำให้ตัวบ้านมีชีวิตชีวามากขึ้น อย่างไรก็ตามบ้านเขตหนาวอาจมีบางจุดที่ไม่ตอบโจทย์อากาศเขตร้อนจึงต้องมีการปรับแบบบ้านและวัสดุเพื่อไม่ให้บ้านร้อนจนอยู่ไม่สบาย เช่น การเพิ่มสวนในบ้าน การติดตั้งช่องเปิดขนาดใหญ่ขึ้น หรือเลือกติดตั้งกระจกในจุดที่ไม่ได้รับแสงตลอดทั้งวัน และมองหารุ่นกระจกที่มีคุณสมบัติตัดแสงได้ เป็นต้น