แบบบ้านที่ เหมาะกับ ภาคใต้

แบบบ้านที่ เหมาะกับ ภาคใต้

แบบบ้านที่ เหมาะกับ ภาคใต้ 1

แบบบ้านที่ เหมาะกับ ภาคใต้ ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ต้องเผชิญกับลมมรสุม ทำให้ แบบบ้านสไตล์ปักษ์ใต้ ต้องรับมือกับแดด ลม ฝน ได้ดี เราจึงมักเห็นบ้านพื้นถิ่นภาคใต้นิยมใช้หลังคาปั้นหยาที่พัฒนามาจากหลังคาจั่ว แต่มีชายคาลาดเอียงทั้งสี่ด้าน สามารถกันแดดกันฝนได้รอบ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของภาคใต้ที่ร้อนและมีฝนตกชุก

นอกจากนี้ แบบบ้านสไตล์ปักษ์ใต้ ยังมีเอกลักษณ์จากวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นงานช่าง งานหนัง งานผ้า ฯลฯ ซึ่งสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบบ้านให้ดูน่าสนใจและมีเรื่องราว เรามีตัวอย่างบ้านกลิ่นอายปักษ์ใต้บ้านเรามาให้ชมกัน

บ้านไม้สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัยแห่งพัทลุง

  • เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด
  • สถาปนิก : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และคุณอรวี เมธาวี
  • ก่อสร้าง : คุณบุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต

บ้านไม้สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย โดยออกแบบบ้านให้มีพื้นที่น่าใช้สอย เช่น การวางเรือนตามเเนวตะวัน ออกแบบบันไดให้อยู่ทางทิศตะวันตกเพื่อกันเเดดบ่าย วางห้องน้ำไว้ทางทิศตะวันออก แล้วเปิดทิศเหนือและทิศใต้ให้โล่งที่สุดเพื่อที่จะเชื่อมบ้านกับสวนเข้าด้วยกัน เป็นการผสานภาพร่างของความทรงจำเหล่านั้นให้เป็นจริง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน

DESIGNER DIRECTORY :

ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี /
ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต /
เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด

บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง

ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน

แกะรอยความทรงจำ

ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น รวมทั้งยังได้มีการร่างแบบของ “บ้านในความทรงจำ” ที่เป็นบ้านของคุณตาคุณยายไว้ด้วยเช่นเดียวกัน renovate บ้าน 2 ชั้น

แน่นอนที่รูปแบบของบ้านจะต้องเป็นบ้านที่สามารถใช้ชีวิตแบบสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่าเป็นการใช้งานแบบโมเดิร์นได้ดี โจทย์ข้อยากจึงเป็นการหาพื้นที่ตรงกลางระหว่าง “เก่า” กับ “ใหม่” หรือส่วนที่บรรจบกันได้ระหว่างความทรงจำเดิมกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

ซึ่งในส่วนนี้เองที่ทาง “ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ” ต้องทำการบ้านให้เข้าถึงความพอดีตรงนี้ แม้คุณวิวัฒน์จะมีแบบร่างมาบ้างแล้ว แต่สถาปนิกก็ยังคงมีหน้าที่จัดสรรพื้นที่ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น

“การทำบ้านหลังนี้ เราไม่สามารถคิดหรือจินตนาการเองได้เลยว่าอะไรคือสิ่งที่ “ใช่” ในความทรงจำ จึงต้องอาศัยทำความเข้าใจจากลายเส้นของคุณวิวัฒน์เป็นหลัก ซึ่งสิ่งที่พบคือผังของบ้านที่เรียบง่าย บรรยายไว้ในสิ่งที่เป็นความทรงจำและระลึกถึง มากกว่านั้นการที่ผังนี้ได้ผ่านกระบวนการคิดมาแล้วว่าอะไรที่เหมาะสมกับชีวิตปัจจุบันของครอบครัวรอดสุด ในฐานะสถาปนิกจึงมีหน้าที่ออกแบบบ้านให้มีพื้นที่น่าใช้สอย เช่น การวางเรือนตามเเนวตะวัน ออกแบบบันไดให้อยู่ทางทิศตะวันตกเพื่อกันเเดดบ่าย  วางห้องน้ำไว้ทางทิศตะวันออก แล้วเปิดทิศเหนือและทิศใต้ให้โล่งที่สุดเพื่อที่จะเชื่อมบ้านกับสวนเข้าด้วยกัน เป็นการผสานภาพร่างของความทรงจำเหล่านั้นให้เป็นจริง โดยมีเรา(สถาปนิก) คอยช่วยกำกับให้สามารถใช้งานพื้นที่ต่าง ๆ ในบ้านได้ดียิ่งขึ้น” 

องค์ประกอบในความทรงจำ

และไม่ใช่แค่เพียงการวางผังเท่านั้น แต่องค์ประกอบต่าง ๆ ในความทรงจำ เช่น ประตูบานไม้พับ ช่องคอสอง(ช่องระบายอากาศจากไม้สานมีความโปร่ง) หรือแม้แต่รูปร่างลักษณะบันไดที่เป็นรูปตัวแอล (L) ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในความทรงจำที่นำมาปรับใช้ลงไปในบ้านหลังใหม่เกือบทั้งหมด โดยทีมสถาปนิกค่อย ๆ ปะติดปะต่อแบบร่างให้ออกมาเป็นภาพที่ชัดขึ้น มีทั้งการทำแบบร่างสามมิติ และพูดคุยกับเจ้าของบ้านอยู่ตลอดถึงสิ่งที่ใช่เเละต้องการ บ้านเอเฟรม

และไม่ใช่แค่เพียงองค์ประกอบต่าง ๆ แต่วัสดุเองก็มีความหมายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะไม้เดิมจากบ้านเก่าของคุณตาคุณยาย  ซึ่งมีการนำมาใช้ทำเป็นเสาและคานของบ้านหลังใหม่นี้ ด้วยความตั้งใจที่อยากให้คนในบ้านได้เห็นเเละได้สัมผัสกับความทรงจำในอดีต ที่ยังคงเก็บรักษาไว้เเละดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

“เสาตรงบันได เวลาเดินขึ้นแล้วสามารถสัมผัสได้ พอคุณพ่อได้เห็นท่านก็จะนึงถึงภาพความทรงจำเมื่อครั้งที่เคยอยู่อาศัยในบ้านเก่า เป็นการสร้าง “โมเมนต์” แห่งการระลึกถึงที่สมาชิกทุกคนทุกวัยเเฮปปี้ เเต่ทั้งนี้การออกแบบบ้านจากไม้เก่าและไม้ใหม่ สถาปนิกยังตั้งใจให้มองเห็นถึงความแตกต่าง ด้วยการแบ่งการใช้งานออกจากกัน เหมือนกับความทรงจำของทั้งสองช่วงเวลาถูกหลอมรวมอยู่ด้วยกันอย่างลงตัวในบ้านหลังนี้” คุณวิวัฒน์เล่าให้ฟัง

เอกลักษณ์เรือนพื้นถิ่นภาคใต้ที่ปรับให้เข้ากับปัจจุบัน

แบบบ้านที่ เหมาะกับ ภาคใต้ 2

คุณโอ๋-ภคชาติ เตชะอำนวยวิทย์ สถาปนิกของ ตื่น  ดีไซน์ สตูดิโอเล่าถึงการกลับไปค้นหารูปแบบของเรือนพื้นถิ่นพัทลุงให้เราฟังว่า

“ตอนที่เริ่มทำบ้านหลังนี้ เราได้กลับไปศึกษางานวิจัยที่พูดถึงเรือนพื้นถิ่นแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จึงได้เห็นพัฒนาการในแต่ละยุคซึ่งจะมีเอกลักษณ์ที่ค่อนข้างแตกต่างกันไป แต่ก็มีข้อที่เป็นจุดร่วมกันอยู่บ้าง เช่น แรกสุดเลยที่ตั้งเมืองใหม่ ๆ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นคือ เรือนเจ้าเมืองเก่า ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับเรือนภาคกลาง มีหลังคาทรงจั่วอย่างบ้านเรือนไทย ซึ่งกลายเป็นต้นเเบบให้เเก่การสร้างบ้านเรือนของคนในพื้นที่ โดยต่อมาได้รับการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเรื่อย ๆ ให้เหมาะกับสภาพอากาศ ซึ่งยังคงมีเรือนโบราณพื้นถิ่นหลาย ๆ หลังได้รับการอนุรักษ์เเละซ่อมเเซมมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับเรือนปักษ์ใต้ที่เป็นความทรงจำของคุณวิวัฒน์ที่มีคาแร็กเตอร์สำคัญ ๆ อย่าง หลังคากระเบื้องดินเผา มีช่องคอสองที่ชั้นสอง หรือช่วงพาดเสาที่เป็นไม้ จึงมีช่วงพาดไม่กว้างมากประมาณสองเมตรครึ่งถึงสามเมตร และบานเฟี้ยมที่เปิดออกได้จนสุด โดยอิงมาจากเรือนพื้นถิ่นที่เป็นร้านค้า ส่วนบันไดไม้ก็จะมีดีเทลที่มีแม่บันไดสองข้างแล้วเสียบบันไดไว้ตรงกลาง อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของเรือนพื้นถิ่นเดิมในพัทลุง

“ถ้าเทียบกับภาคอื่น ๆ โดยเนื้อหาสาระสำคัญของเรือนพื้นถิ่น มันคือการสร้างขึ้นเพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ พอมองดูคาแร็กเตอร์ของภาคใต้ที่นี่ฝนตกหนัก จะพบว่าบ้านส่วนใหญ่มักมีชายคาที่ต่ำกว่าเรือนภาคอื่น ๆ ถ้าอยากนั่งดูฝนตกก็จะต้องกดชายคาลงให้ต่ำลงมามากเป็นพิเศษ เรือนปั้นหยาที่เห็นได้บ่อยในภาคใต้ก็เป็นหลังคาทรงนี้เเทบทั้งนั้น เพราะสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้ครบทั้งสี่ด้านได้มากกว่าเรือนที่เป็นหลังคาทรงจั่ว ส่วนเรื่องการระบายอากาศเเละความร้อนก็ต้องทำช่องให้ลมพัดผ่านได้สะดวก จึงมีการใช้ช่องคอสองเป็นส่วนที่ระบายอากาศและความชื้น แต่ก็ยังสามารถกันแดดได้อยู่ นี่คือสิ่งที่เราทำเพื่อให้บ้านหลังนี้สามารถทำงานได้ในฐานะของความเป็นเรือนพื้นถิ่น และยังได้เพิ่มเติมบางเรื่องขององค์ประกอบใหม่ ๆ ที่เข้าได้กับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ลงไปด้วย เช่น การวางให้บ้านมีความเชื่อมโยงกับบ้านเดิมในพื้นที่ เเละการเปิดพื้นที่แบบ Double Volumn “

ในส่วนของผังที่ได้ปรับปรุงจากเดิม คือการที่สร้างพื้นที่ Buffer ระหว่างกลุ่มบ้านในพื้นที่ให้เกิดเป็นลานส่วนกลางที่เชื่อมถึงกัน มุมมองที่ต่อเนื่องจากลานนั้นจะต้องผ่านกึ่งกลางของเรือนพินรัตน์ออกไปยังพื้นที่สวน เน้นย้ำเส้นนี้ด้วยการเลือกใช้บานกระจกมาสร้างความโปร่งใสให้แตกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ของบ้าน สร้างการเชื่อมโยงระหว่างบ้านเก่า เรือนพินรัตน์ และสวนรอบบ้านไว้ด้วยกัน

การเปิดพื้นที่แบบ Double Volumn นั้น นอกจากการปรับพื้นที่ให้โปร่งโล่งและร่วมสมัยขึ้นแล้ว ยังเป็นการสร้างบรรยากาศของการรำลึกด้วยการแขวนภาพของคุณตาคุณยายไว้ให้สามารถมองเห็นได้จากทุก ๆ ส่วนของเรือนพินรัตน์ เกิดเป็นพื้นที่ในเชิงความทรงจำให้กับครอบครัว

และเมื่อขึ้นมายังชั้นสองจะได้พบกับพื้นที่ส่วนตัวที่สามารถนอนเอกเขนกได้สบาย เป็นพื้นที่ซึ่งประยุกต์มาจากสเกลการนั่งพื้นอย่างไทย และการนั่งแบบสากลเข้าไว้ด้วยกัน เห็นได้ชัดอย่างห้องนอนที่คุณวิวัฒน์บอกว่าต้องการมองเห็นวิวสวนเเละพื้นที่รอบ ๆ บริเวณได้  สถาปนิกจึงทำห้องนอนเป็นเเบบยกพื้นและวางฟูกกลายเป็นที่นอนบรรยากาศเรียบง่าย สามารถลุกขึ้นมานั่งมองวิวยามเช้าได้ทันทีที่ตื่นนอน 

ความสมบูรณ์เเบบในความไม่สมบูรณ์เเบบ

แบบบ้านที่ เหมาะกับ ภาคใต้ 3

การสร้างบ้านไม้อย่างเรือนพินรัตน์มีส่วนสำคัญคือ การหาช่างที่เข้าใจในงานก่อสร้าง จนมาเจอช่างอย่างน้าเชน (บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต) โดยเขาเป็นช่างที่เคยทำบ้านให้กับคุณพ่อของคุณวิวัฒน์มาก่อน จึงมีความเข้าใจในงานก่อสร้าง เเละสนิทกับเจ้าของบ้านเป็นอย่างดี  เรียกได้ว่าน้าเชนมีความเป็น Craftmanship หรือผู้เชี่ยวชาญเรือนพื้นถิ่นเลยทีเดียว “ถ้ามองในมุมของงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ก็อาจจะเรียกว่าไม่เหมือนแบบนี้ 

เพราะทำออกมามันก็เหมือนกันหมด แต่งานช่างสมัยก่อนอย่างการขัดไม้แต่ละชิ้นนี่ก็ไม่เหมือนกัน ความละเอียดที่บรรจงทำงานเป็นสิ่งที่ยากจะหาได้ในยุคสมัยนี้ อย่างบ้านหลังนี้ที่เราอยากจะเก็บแนวตงของชั้นสองไว้ เพราะช่างฝีมือดี พอได้ช่างฝีมือดีก็สามารถเปิดเผยสิ่งเหล่านี้ออกมาได้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ งานไม้ เเละกระเบื้องหลังคาดั้งเดิมยังถูกนำมาใช้

ด้วยเอกลักษณ์ที่มีเท็กซ์เจอร์เเละลวดลายเป็นของตัวเอง เช่นเดียวกับผนังที่เราพยายามเลือกให้ใกล้เคียงกับสมัยก่อนให้มากที่สุด ส่วนเหตุผลที่ใช้ปูนเปลือยเพราะบ้านเดิมชั้นล่างนั่นเป็นผนังปูน อาจจะมีร่องรอยบ้าง ไม่ได้เนี้ยบมาก แต่ก็ความสมบูรณ์ในแบบของมัน ความยากคือเราพยายามให้ไม่เป็นลอฟต์ แต่พยายามทำให้เหมือนบ้านสมัยก่อน เราจึงเลือกใช้ Color Cement ของจระเข้ แต่ไม่ได้ทา คือใช้วิธีฉาบเอาเพื่อให้ได้เท็กซ์เจอร์ที่เหมือนบ้านเดิมมากที่สุดทั้งเสาและผนังเลย”

คุณวิวัฒน์ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า  “จริง ๆ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและก่อสร้าง เราวางแผนกันไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะใช้ช่างพื้นถิ่น เราก็ไม่ได้มีแบบก่อสร้างที่เป็นชิ้นเป็นอัน ระหว่างทางจึงเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อที่จะพาให้บ้านไปสู่จุดที่สำเร็จร่วมกันได้ เราใช้ช่างในพื้นที่ที่เคยทำบ้านให้คุณพ่อ ระหว่างช่างกับเจ้าของบ้านมีความสัมพันธ์แบบน้ากับหลาน เราจ้างเขามาทำส่วนหนึ่งก็เพราะว่าเราคุ้นเคย คุยกันได้ ส่วนเขาก็ดูแลเรามากไปกว่าแค่ทำให้จบงานไปเฉย ๆ แต่เป็นความตั้งใจที่ใส่ลงไปในทุก ๆ ส่วนของบ้านหลังนี้เลยทีเดียว”

และนี่ก็คือบ้านที่สร้างขึ้นมาจากความทรงจำของครอบครัว “รอดสุด” ให้กลายเป็นเรือนพื้นถิ่นร่วมสมัยที่น่าสนใจอีกหนึ่งหลัง การผสมผสานทั้งวัสดุ แนวคิด และวิถีชีวิตนั้น ทำให้เรือนพินรัตน์เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับใครก็ตามที่อยากจะกลับไปสร้างบ้าน “ต่างจังหวัด” เป็นของตัวเอง และในอนาคตอันใกล้คุณวิวัฒน์บอกกับเราว่า อาจจะทำที่นี่เป็นโฮมสเตย์เพิ่มเติม ซึ่งถ้าถึงเวลานั้น บ้านและสวน จะไม่รอช้านำมาฝากท่านผู้อ่านกันอีกครั้งอย่างแน่นอน

You may also like...