แบบบ้านยกสูง

แบบบ้านยกสูง

แบบบ้านยกสูง เก่า-ใหม่ รวมเป็นหนึ่ง บ้านยกสูงร่วมสมัยอาการเบื่อบ้าน เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรโดยเฉพาะบ้านเก่าที่สร้างมาหลายปี การอยู่อาศัยทุก ๆ วัน รู้ลึกในทุกซอกทุกมุม ไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ มาให้สัมผัส ความเบื่อหน่ายจึงครอบคลุมใจได้ในบางเวลา แม้จะเป็นบ้านหลังใหญ่ตกแต่งเลิศหรู ก็ต้องมีบางวันที่รู้สึกไม่อยากอยู่บ้านบ้างเป็นธรรมดา การแต่งเติมสิ่งใหม่เข้าไปในบางส่วนบางมุมแม้จะสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงเป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้บ้านมีความแตกต่างและน่าสนใจอยู่เสมอพ่อแม่และลูกสาววัยรุ่นอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มา 11 ปีแล้ว ความเก่าทรุดโทรมเกิดขึ้นบ้างเป็นบางส่วน แต่ด้วยการเติบโตของลูก ๆ ทำให้ต้องตัดสินใจต่อเติมขยับขยายให้บ้านสามารถรองรับกับการใช้งานได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวขึ้น นำความเก่าและความใหม่ของคนสองรุ่นมาผสมผสานกันในจุดตรงกลาง ดีไซน์ร่วมสมัยสามารถตอบโจทย์ความต้องการนั้นได้พอดี คลิ๊กที่นี่

แบบบ้านยกสูง

ตัวบ้านมีการยกพื้นสูง ใช้สีขาวและสีดำที่เป็นขั้วตรงกันข้ามเรียกร้องความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวและผู้คนที่พบเห็น ปีกซ้ายของบ้านมืดเข้ม ส่วนปีกขวาสว่างใส อารมณ์ที่แตกต่างยิ่งทำให้สไตล์ของบ้านชัดเจน เพิ่มความเป็นระเบียบให้กับพื้นที่ใต้ถุน พรางตาด้วยการปิดผนังบางส่วน ข้าวของที่จัดวางไว้จึงไม่มีสิทธิ์ออกมาแย่งความสนใจทางสายตาได้อย่างแน่นอน แบบบ้านทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น

ยิ่งลูกโตเป็นวัยรุ่น พื้นที่ส่วนกลางของบ้านยิ่งมีความสำคัญ ออกแบบห้องนั่งเล่น ห้องครัวและรับประทานอาหารให้เชื่อมโยงถึงกัน บริเวณนี้ทุก ๆ คนสามารถมาร่วมตัวกันใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มอิ่ม แบ่งสัดส่วนการใช้งานด้วยการเล่นสต็ปพื้น ห้องนั่งเล่นอยู่ต่ำกว่าห้องครัว แต่แนบเนียนเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการปูพื้นไม้สีน้ำตาลและคุมธีมด้วยสีสว่างใส


แบบบ้านยกสูง

เฟอร์นิเจอร์ทุกห้องมีไม้เป็นองค์ประกอบหลักบ้านยกสูง บิวท์อินได้เข้ากับขนาดของพื้นที่ โซฟานั่งเล่นเข้ามุมซ้ายรูปตัว L ข้างล่างสามารถวางหนังสือได้ ใช้เบาะรองนั่งสี่เหลี่ยมหุ้มผ้าสีฟ้า ได้ความสดใสในแบบที่วัยรุ่นต้องการ ไม่ปล่อยให้ริมหน้าต่างเปล่าเปลือยไร้ประโยชน์ ม้านั่งพร้อมลิ้นชักถูกจัดวางไว้อย่างเหมาะสม ใช้เป็นมุมพักผ่อนอีกมุมของครอบครัว

เติมความแตกต่างให้ผนังห้องน้ำด้วยการปูกระเบื้องแผ่นเล็กในบางส่วน ขนาดของกระเบื้องที่ไม่เท่ากัน เพิ่มมิติและลวดลายให้กับห้องน้ำได้แม้จะใช้แค่กระเบื้องสีขาวเพียงแค่สีเดียว ภายในห้องน้ำดูสบายตาอยู่เสมอ เพราะของใช้ถูกจัดเก็บให้เข้าที่เข้าทางภายในตู้เก็บของติดผนังและเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้า


แบบบ้านยกสูง

 


อากาศที่ร้อนขึ้นทุกปี เครื่องปรับอากาศเข้ามาช่วยลดความร้อนจนเราลืมพัดลมที่เคยเป็นตัวช่วยสำคัญมาก่อน ในบางพื้นที่ที่ต้องการอากาศที่ถ่ายเท มีความสบายแบบไม่เสียวตัว เพียงทำการติดตั้งพัดลมแขวนเพดานสักตัวจะช่วยให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น  โดยเฉพาะตรงระเบียงบ้าน ลมเอื่อย  ๆ ที่เกิดจากการหมุน  จะช่วยคลายความร้อนและเพิ่มความเพลิดเพลินในการนั่งพักผ่อนมากยิ่งขึ้น


บ้านน่ารักแบบญี่ปุ่น ด้วยแนวคิดจากอินโดนีเซีย

บ้านน่ารักแบบญี่ปุ่น

ที่ไหนๆ ในโลกใบนี้ก็สามารถเป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วมได้เช่นกัน ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือในญี่ปุ่ ก็มีพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง แต่เราไม่ค่อยได่เห็นเห็นภูมิปัญญาการสร้างสถาปัตยกรรมใต้ถุนสูงที่ดูคล้ายกับบ้านเราเท่าไหร่นัก หรือจะเรียกว่าไม่เคยเห็นเลยก็ว่าได้ เมื่อบอกว่าบ้านที่เราจะพาไปชมวันนี้เป็นบ้านใต้ถุนสูงในญี่ปุ่นจึงออกจะแปลกใจอยู่ไม่น้อย แถมบ้านนี้ยังใช้โครงสร้างเสาไม้ในลักษณะที่แปลกออกไปแบบที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ส่วนรายละเอียดของบ้านจะเป็นอย่างไรต้องลองตามไปดูกัน

บ้านพื้นที่ 82 ตร.ม.หลังนี้ เป็นของศาสตราจารย์ Reihito Nakatani และ Waseda University  นักวิจัยด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม สร้างในจังหวัดอิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น โจทย์คือให้สร้างบ้านไม้ทรงสูงที่ข้างล่างสวยงาม โดยใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิมในญี่ปุ่น และสามารถใช้งานได้จริงสำหรับหนีภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ทีมงานนึกภาพบ้านใต้ถุนสูงที่มีชั้นล่างที่สวยงามไม่ออก เจ้าของบ้านจึงนำแบบบ้านไร่ในอินโดนีเซียที่เขาค้นคว้ามาเป็นตัวอย่าง ร่วมกับพิจารณาองค์ประกอบรอบข้างที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบขนาดใหญ่ พร้อมทิวทัศน์ทุ่งนาเขียวๆ ทางทิศใต้ และทางรถไฟที่อยู่ไกลออกไป ผลลัพธ์ออกมาเป็นบ้านยกสูง มองไกล ๆ จะเห็นบ้านทรงสี่เหลี่ยมหลังคาแหลมตรงกลางสีน้ำตาลเข้มลอยตัวอยู่อย่างโดดเด่น ดูเผินๆ เหมือนบ้านในอินโดนีเซีย


บ้านน่ารักแบบญี่ปุ่น

บ้านนี้มีชื่อโปรเจ็คว่า stilt house หรือที่แปลเป็นไทยได้ว่า “บ้านบนไม้ค้ำ” ซึ่งมาจากลักษณะเด่นของตัวบ้านที่ยกสูงขึ้นเหนือพื้นดินบนเสาบ้านที่มีลักษณะแปลกกว่าที่เคยเห็น คือไม่ใช่เสาตรง ๆ แบบเสาเดี่ยวๆ แต่ใช้วิธีการวางเสา4 ต้นเป็นต้นหลัก แล้วเพิ่มส่วนประกอบของเสาไม้ชิ้นอื่นๆ ที่วางทแยงมุมค้ำยันซึ่งกันและกัน เป็นการกระจายความเครียดจากข้อต่อและทำให้เรียบง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความแข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักของตัวบ้านได้ ตัว

บ้านที่ถูกยกสูงทำให้ได้วิวชนบทที่กว้างและไกลขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้พื้นที่ข้างล่างสำหรับจอดรถ นั่งเล่นรับวิวรับลมชิลๆ และมีทางให้น้ำผ่านได้ในกรณีที่มีน้ำหลากในอนาคตจากบันไดภายนอกบ้านที่ทำจากเหล็กนำทางขึ้นมาจะพบกับส่วนของ engawa หรือระเบียงแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมในรุปแบบที่ทันสมัยขึ้นจากวัสดุที่ใช้ เอาไว้สำหรับนั่งเล่นชื่นชมทิวทัศน์  โดยที่ไม่ต้องห่วงฝนและแดดเพราะมีหลังคากันสาดกว้างๆ ยื่นออกมาคลุม และมีประตูบานสไลด์เปิดออกได้กว้าง ทำให้บ้านเปิดรับวิสัยทัศน์ ลม แสง ได้เต็มที่ เหมือนไม่มีผนัง และสามารถเลื่อนปิดได้ในวันที่อากาศไม่เป็นใจและต้องการความเป็นส่วนตัว


บ้านน่ารักแบบญี่ปุ่น

แผนผังในบ้านจะจัดเป็นรูปร่างตารางทั้งหมด 9 ช่อง แต่ละช่องจะมีฟังก์ชันของตัวเอง โดยที่จะเหลือพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางขนาดใหญ่เอาไว้ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยเสาสี่ต้นและขาเสาที่ค้ำยันกันในแนวทแยง ซึ่งโครงสร้างเสาและคานทั้งหมดจะแสดงเป็นไม้เปลือย ๆ ไม่มีผนังและประตูกั้น แบบที่เรียกว่า Shinkabe ฟังก์ชันหลัก ๆ ภายในบ้านจึงรักษาการเชื่อมต่อทางสายตาและความรู้สึกเปิดกว้างไม่ปิดสนิทเหมือนการใส่พาร์ทิชันหรือผนัง

เสาไม้ท่อนใหญ่ที่ค้ำยันกันอยู่นี้ ถูกปรับประยุกต์ใช้งานเป็นชั้นวางได้ด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการใช้ประโยชน์จากโครสร้างบ้านให้ใช้งานได้สูงสุด เพียงแต่ในสายตาของคนที่ชินกับการอยู่บ้านแบบเสาเดี่ยวๆ เรียงตรงๆอาจจะรู้สึกว่าเสาแบบนี้กินเนื้อที่และขวางการสัญจรพอสมควรสถาปัตยกรรมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสภภาพอากาศทั้งร้อนและชื้น ในฤดูฝนหลายพื้นที่ยังต้องเผชิญกับน้ำหลาก ชั้นล่างจึงนิยมยกสูงปล่อยโล่งให้เป็นส่วนใต้ถุนบ้าน ที่สามารถใช้เป็นทั้งพื้นที่เก็บของ นั่งเล่น ทำงานช่วงกลางวัน รับแขก และรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวยามเช้าหรือเย็นๆ  ที่ว่างเหล่านี้ยังทำให้บ้านมีพื้นที่ให้ลมผ่านลดความชื้นใต้อาคาร สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบ้านที่มีสภาพอากาศคล้ายๆ กันได้ 

บ้านยกใต้ถุนสูง หนีน้ำท่วม สวยอบอวลด้วยความร่วมสมัย


บ้านยกใต้ถุนสูง หนีน้ำท่วม

น้ำท่วมไม่ได้มีแค่เมืองไทย ในออสเตรเลียก็มีบางโซนที่เสี่ยงกับอุทกภัยเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นบ้านบางหลังยกพื้นสูงเหมือนบ้านในไทย อย่างบ้านนี้ในย่านชานเมืองของบริสเบนที่ภูมิประเทศเป็นเนินเขาของแพดดิงตัน ทำให้มีน้ำไหลหลากลงลำธารปริมาณมากในสภาพอากาศที่ฝนตก ซึ่งไซต์นี้อยู่คร่อมจุดต่ำจุดหนึ่งที่น้ำต้องไหลผ่านพอดี โดยกฎระเบียบชุมชนจะมีเขตยกเว้นที่กำหนดไว้สำหรับการก่อสร้าง อย่างการระบายน้ำบนผิวดิน การท่อระบายน้ำใต้ดิน และการเปิดพื้นที่ให้น้ำไหลผ่านลงระบบระบาย เจ้าของบ้านจึงใช้วิธีการยกระดับพื้นที่อยู่อาศัยขึ้นให้ตัวบ้านไม่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำ

ครั้งแรกที่ได้เห็นอาคารนี้ทำให้นึกถึงบ้านร่วมสมัยในแถบบ้านเรา ที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วลักษณะสถาปัตยกรรมก็ได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านแถบเอเชียจริง ๆ ในช่วงต้นปี 2560 ก่อนเริ่มโครงการนี้ สถาปนิกได้เดินทางไปปีนัง เกาะเล็กนอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ซึ่งเจ้าของบ้าน Boon & Sarah เติบโตและเรียนที่นี่ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการสรุปแบบบ้านของพวกเขา โดยสถาปนิกออกแบบบ้านออกเป็น 3 ส่วนต่อเชื่อมกันเป็นรูปร่างตัว U โครงสร้างแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็นกล่องขนาด 3.6 ม. มีเสาเหล็กในแต่ละมุมที่ยกตัวบ้านขึ้นเหนือพื้นดินในระดับต่างๆ ผนังภายนอกบ้านเลือกสีขาวตกแต่งระแนง ดูเรียบง่ายถ่อมตัวในพื้นที่ 136 ตร.ม.

บ้านถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนตามความยาวของที่ดิน พื้นยกสูงทำให้เหมือนกระท่อมสมัยก่อนสงครามหลายหลังในเมือง การแยกตัวจากกันนี้ทำให้เกิดช่องว่างในการรับกระแสลม แสงอาทิตย์ได้ลึกลงไปในแต่ละส่วนของบ้าน และสามารถจับภาพวิวจากมุมมองที่หลากหลาย

หลังคาเป็นทรงปั้นหยาคล้ายพีระมิด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับบ้านในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งปกติจะเป็นข้อกำหนดทางสถาปัตยกรรมให้บ้านในชุมชนต้องไปในทิศทางเดียวกันนั่นเอง สำหรับจุดสูงสุดของแต่ละหลังคาในบ้านนี้หากมองจากด้านบนจะเห็นว่ามีช่องแสงสกายไลท์ที่ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบอัตโนมัติ การเปิดและปิดเพื่อระบายอากาศร้อนและรับลมผ่านหน้าต่างรอบ ๆ ที่ออกแบบบไว้ในขนาดต่างๆ ให้บ้านเปิดรับแสง ลม และวิว


บ้านยกใต้ถุนสูง หนีน้ำท่วม

พื้นที่ด้านล่างของบ้านได้หลากหลายฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็นใช้เป็นที่จอดรถหรือพื้นที่นั่งเล่น ทานขนมพร้อมชมวิวหน้าบ้าน หรือทักทายเพื่อนบ้าน เมื่อก้าวลงไปที่สนามหลังบ้านด้านล่างจะสร้างการเชื่อมต่อที่มองเห็นได้จากศูนย์กลางของบ้าน เมื่อเดินขึ้นบันไดไปจะนำไปสู่ประตูทางเข้าบ้านออกแบบเป็นบานสไลด์แบบ pocket door ซ่อนอยู่ข้าง ๆ ดูเผิน ๆ เหมือนเป็นผนังที่ทำให้บ้านดูปลอดภัยและน่าสนุก

เมื่อเข้าสู่ภายในจะพบกับพื้นบ้านที่ปูด้วยไม้สีน้ำตาลเข้มสวย มุมนั่งเล่นวางโซฟาสไตล์ร่วมสมัยเอาไว้ให้พักสลาย ๆ หลังกลับมา ในมุมนี้เราจะเห็นความน่าสนใจหลาย ๆ อย่าง ทั้งการเล่นระดับพื้นที่บ้านมีบันไดเล็ก ๆ นำทางขึ้นไป ช่องแสงที่ติดตั้งอยู่ในระดับสายตาเวลานั่ง และประตูที่เลือกเลื่อนเปิดผนังได้เต็มความกว้าง ทำให้เห็นมุมมองช่วงครัวที่เชื่อมต่อทิวทัศน์ของต้นไม้ใหญ่ดอกสีส้มสดได้เต็มที่

พื้นที่ครัวขนาดกะทัดรัดถูกจัดให้ต่อเนื่องมาจากมุมนั่งเล่นโดยไม่มีผนังแบ่งกั้น โทนสีที่เลือกใช้เป็นสีเทาและงานไม้แท้สีน้ำตาลเข้ม ตัดเส้นสายตาด้วยสีดำ ทำให้บริเวณนี้ดูคมเข้มคนละอารมณ์กับผนังสีขาวนอกบ้าน

ในบ้านนี้เราจะเห็นการใช้ประตู หน้าต่าง ช่องแสง หลาย ๆ รูปแบบที่ทำให้บ้านรับความสว่างและลมพร้อมเติมมิติของแสงเงาได้อย่างน่าสนใจ อาทิ ประตูบานเลื่อนทึบแบบ pocket door ประตูบานเลื่อนกระจก หน้าต่างบานเกล็ด หน้าต่างม่านเลื่อนขึ้นลงได้ ช่องแสงในระดับสายตา และ Skyight

ส่วนที่เป็น private ของบ้านอย่างห้องนอนและห้องน้ำจะวางที่ระดับสูงสุดบนไซต์ จุดที่น่าสนใจในท่ามกลางดีไซน์และวัสดุง่าย ๆ คือ หน้าต่างที่เป็นบานเลื่อนทึบแบบกำหนดเองที่เลื่อนผ่านแผงกระจกที่มีพื้นผิวฝ้าด้านล่าง เจ้าของห้องสามารถเลือกระดับของความเป็นส่วนตัวได้เองด้วยกลไกการเลื่อนแผงขึ้นและลง หน้าต่างแบบนี้ช่วยให้ห้องนอนแต่ละห้องรู้สึกเหมือนระเบียงเมื่อเปิดออก ในเวลากลางวันแสงอาทิตย์ระยิบระยับภายนอกจะส่องเข้ามาในห้องผ่านภูมิทัศน์สวน แล้วตกกระทบกับพื้นผิวกระจกด้านล่าง ส่วนเวลากลางคืนแสงไฟจากสวนจะทะลุผ่านกระจกเข้ามา ยิ่งทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความเพลิดเพลินผ่อนคลายชวนให้นอนสบาย

 ข้อดีของการออกแบบบ้านรูปทรงตัว U คือ ทุกห้องจะมีมุมมองเห็นซึ่งกันและกัน พื้นที่ว่างตรงกลางทำหน้าที่ดักลมและแสงธรรมชาติให้กระจายในตัวบ้านได้ง่าย พื้นที่กลางแจ้งส่วนกลางใช้จัดสวน ทำสระว่ายน้ำ ให้บ้านมีโซนกิจกรรมร่วมกัน ส่วนบ้านที่มีใต้ถุนบ้านจะช่วยให้ลมผ่านลดความชื้นใต้อาคารใด้ดี สามารถป้องกันน้ำท่วมถึงตัวบ้าน ใต้ถุนที่สูงจะมีพื้นที่ใช้งานข้างใต้เป็นโรงจอดรถหรือพื้นที่นั่งเล่นเย็น ๆ ได้อีกด้วย

You may also like...