แบบบ้านชั้นเดียวยกสูง
แบบบ้านชั้นเดียวยกสูง เก่า-ใหม่ รวมเป็นหนึ่ง บ้านยกสูงร่วมสมัย
แบบบ้านชั้นเดียวยกสูง เก่า-ใหม่ รวมเป็นหนึ่ง บ้านยกสูงร่วมสมัยอาการเบื่อบ้าน เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรโดยเฉพาะบ้านเก่าที่สร้างมาหลายปี การอยู่อาศัยทุก ๆ วัน รู้ลึกในทุกซอกทุกมุม ไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ มาให้สัมผัส ความเบื่อหน่ายจึงครอบคลุมใจได้ในบางเวลา แม้จะเป็นบ้านหลังใหญ่ตกแต่งเลิศหรู ก็ต้องมีบางวันที่รู้สึกไม่อยากอยู่บ้านบ้างเป็นธรรมดา การแต่งเติมสิ่งใหม่เข้าไปในบางส่วนบางมุมแม้จะสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ โครงการบ้าน ภูเก็ตจึงเป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้บ้านมีความแตกต่างและน่าสนใจอยู่เสมอproperty phuket
ครอบครัวเล็ก ๆ กับบ้าน 11 ปี
พ่อแม่และลูกสาววัยรุ่นอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มา 11 ปีแล้ว ความเก่าทรุดโทรมเกิดขึ้นบ้างเป็นบางส่วน แต่ด้วยการเติบโตของลูก ๆ ทำให้ต้องตัดสินใจต่อเติมขยับขยายให้บ้านสามารถรองรับกับการใช้งานได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวขึ้น นำความเก่าและความใหม่ของคนสองรุ่นมาผสมผสานกันในจุดตรงกลาง ดีไซน์ร่วมสมัยสามารถตอบโจทย์ความต้องการนั้นได้พอดี
ตัวบ้านมีการยกพื้นสูง ใช้สีขาวและสีดำที่เป็นขั้วตรงกันข้ามเรียกร้องความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวและผู้คนที่พบเห็น ปีกซ้ายของบ้านมืดเข้ม ส่วนปีกขวาสว่างใส อารมณ์ที่แตกต่างยิ่งทำให้สไตล์ของบ้านชัดเจน เพิ่มความเป็นระเบียบให้กับพื้นที่ใต้ถุน พรางตาด้วยการปิดผนังบางส่วน ข้าวของที่จัดวางไว้จึงไม่มีสิทธิ์ออกมาแย่งความสนใจทางสายตาได้อย่างแน่นอนproperty phuket
ยิ่งลูกโตเป็นวัยรุ่น พื้นที่ส่วนกลางของบ้านยิ่งมีความสำคัญ ออกแบบห้องนั่งเล่น ห้องครัวและรับประทานอาหารให้เชื่อมโยงถึงกัน บริเวณนี้ทุก ๆ คนสามารถมาร่วมตัวกันใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มอิ่ม แบ่งสัดส่วนการใช้งานด้วยการเล่นสต็ปพื้น ห้องนั่งเล่นอยู่ต่ำกว่าห้องครัว แต่แนบเนียนเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการปูพื้นไม้สีน้ำตาลและคุมธีมด้วยสีสว่างใส
เฟอร์นิเจอร์ทุกห้องมีไม้เป็นองค์ประกอบหลัก บิวท์อินได้เข้ากับขนาดของพื้นที่ โซฟานั่งเล่นเข้ามุมซ้ายรูปตัว L ข้างล่างสามารถวางหนังสือได้ ใช้เบาะรองนั่งสี่เหลี่ยมหุ้มผ้าสีฟ้า ได้ความสดใสในแบบที่วัยรุ่นต้องการ ไม่ปล่อยให้ริมหน้าต่างเปล่าเปลือยไร้ประโยชน์ ม้านั่งพร้อมลิ้นชักถูกจัดวางไว้อย่างเหมาะสม ใช้เป็นมุมพักผ่อนอีกมุมของครอบครัว
เติมความแตกต่างให้ผนังห้องน้ำด้วยการปูกระเบื้องแผ่นเล็กในบางส่วน ขนาดของกระเบื้องที่ไม่เท่ากัน เพิ่มมิติและลวดลายให้กับห้องน้ำได้แม้จะใช้แค่กระเบื้องสีขาวเพียงแค่สีเดียว ภายในห้องน้ำดูสบายตาอยู่เสมอ เพราะของใช้ถูกจัดเก็บให้เข้าที่เข้าทางภายในตู้เก็บของติดผนังและเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้าแต่งบ้านทาวน์โฮม
อากาศที่ร้อนขึ้นทุกปี เครื่องปรับอากาศเข้ามาช่วยลดความร้อนจนเราลืมพัดลมที่เคยเป็นตัวช่วยสำคัญมาก่อน ในบางพื้นที่ที่ต้องการอากาศที่ถ่ายเท มีความสบายแบบไม่เสียวตัว เพียงทำการติดตั้งพัดลมแขวนเพดานสักตัวจะช่วยให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะตรงระเบียงบ้าน ลมเอื่อย ๆ ที่เกิดจากการหมุน จะช่วยคลายความร้อนและเพิ่มความเพลิดเพลินในการนั่งพักผ่อนมากยิ่งขึ้นรีวิวบ้าน
บ้านยกพื้นมีใต้ถุนในญี่ปุ่น
บ้านยกพื้นสูงเป็นรูปแบบบ้านที่เมืองไทยคุ้นเคยกันดี เพราะบ้านเรามีช่วงฤดูน้ำหลากที่ท่วมหลาย ๆ พื้นที่ แต่ต่อ ๆ มาบ้านแบบนี้ดูเชยไม่เป็นที่นิยม ทั้งๆ ที่สอดคล้องกับสภาพอากาศและภูมิประเทศ บ้านมีใต้ถุนจึงหายหน้าหายตาไปตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม “บ้านไอเดีย” เชื่อว่ายังมีบางคนที่ชื่นชอบและเห็นประโยชน์ของบ้านยกพื้น เนื้อหานี้เราจะพาไปพบกับแบบบ้านในญี่ปุ่นที่น่าสนใจ บ้านหลังนี้เมื่อเห็นครั้งแรกยังคิดว่าเป็นบ้านแถวเมืองไทยเพราะยกพื้นสูงแบบที่เราไม่ค่อยได้เห็นนักในญี่ปุ่น นอกจากนี้ในบ้านยังใส่รายละเอียดของการวางแปลนบ้าน การเลือกวัสดุ องค์ประกอบบ้าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมุมที่แสดงให้เห็นว่า “บ้านในญี่ปุ่น” ไม่ได้มีเพียงความเป๊ะ ความเป็นระเบียบแบบแผน แต่ยังมีอารมณ์สนุกของการลองอะไรใหม่ ๆ ลงไปในที่อยู่อาศัยด้วยproperty phuket
House in Takaoka เป็นที่พักแบบมินิมอลใน Toyama ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบโดย UNEMORI ARCHITECTS แนวคิดของบ้านคือ การสร้างบ้านต้นทุนต่ำแต่คำนึงถึงภัยพิบัติและสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคนี้ประกอบไปด้วย โครงสร้างเป็นบ้านชั้นเดียวสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้ ให้ความยืดหยุ่นต้านแรงแผ่นดินไหวได้ ตัวบ้านประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ยกขึ้นเหนือพื้นดินในระดับต่าง ๆ กันโดยใช้เสาคอนกรีต φ = 250 มม. เพื่อไม่ให้ตัวอาคารบดบังมุมมองซึ่งกันและกัน
รูปร่างบ้านเรียบง่ายเป็นกลุ่มอาคารเกาะเกี่ยวกันคล้ายตัว U มีลานโล่งตรงกลาง หลังคาเฉียงในระดับต่าง ๆ กันดูล้อไปกับความสูงของพื้นที่ยกระดับขึ้น และเอื้อให้น้ำฝนไหลจากหลังคาได้ดี ตัวผนังภายนอกห่อหุ้มด้วยเมทัลชีทลายลูกฟูก โทนสีเดียวกับคอนกรีต มองดูแล้วเหมือนบ้านร่วมสมัยในบ้านเราที่บางพื้นที่นิยมยกพื้นบ้านสูงเพื่อหนีน้ำท่วมและปล่อยให้ลมไหลลอดผ่านใต้อาคารเพื่อลดความชื้น