บ้านสไตล์ไทยประยุกต์

บ้านสไตล์ไทยประยุกต์ เอกลักษณ์ความเป็นไทย

บ้านสไตล์ไทยประยุกต์ กับเอกลักษณ์ความเป็นไทย ตามสไตล์ท้องถิ่นด้วยความสวยงามอันมีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิมกับความทันสมัย จึงทำให้บ้านไทยประยุกต์กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนฝัน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันทั้งสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ คติความเชื่อและศาสนา ล้วนเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการออกแบบบ้าน property phuket

ด้วยความสวยงามโดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ผสมผสานงานสถาปัตยกรรมไทยแบบดั้งเดิมกับความทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้แบบบ้านไทยประยุกต์กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใครหลายคนใฝ่ฝัน เพราะทั้งตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสมและสะท้อนความงดงามแบบไทยๆ ได้อย่างลงตัว ซึ่งในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน ทั้งสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีการดำเนินชีวิต คติความเชื่อและศาสนา ล้วนเป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการออกแบบบ้าน จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า จะสร้างบ้านแบบไหนให้เหมาะสมและกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบให้มากที่สุด วันนี้เรามีมาฝากกันค่ะออกแบบบ้าน

ในอดีต คนไทยนิยมสร้างบ้านด้วยวัสดุที่เป็นไม้ทั้งหลัง โดยรูปแบบของบ้านจะมีการยกพื้นบ้านให้สูง และมีหลังคาทรงสูง เพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่ทั้งร้อน และมีฝนตกชุก โดยลักษณะของบ้านทรงไทยจะสามารถระบายความร้อน และความชื้นออกจากตัวบ้านได้เป็นอย่างดีเมื่อถึงยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแต่ความนิยมของบ้านทรงไทยนั้นยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยในยุคนี้จะมีการปรับปรุงให้ตัวบ้านดูทันสมัยตรงตามความต้องการของเจ้าของบ้านมากขึ้น จึงทำให้มีแบบบ้านไทยที่เรียกกันว่า บ้านสไตล์ไทยประยุกต์ ขึ้นมา โดยบ้านไทยประยุกต์นั้นจะมีแบบบ้านที่หลากหลายมากมาย แต่การที่จะสร้างบ้านไทยประยุกต์ให้ดูสวยโดดเด่นได้นั้นจะมีองค์ประกอบหลักอยู่อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้นั้นคือ หลังคา โดยการใช้หลังคาที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากันกับลักษณะของสไตล์บ้านนั้นก็เปรียบเหมือนการมีคู่แท้ที่ช่วยเสริมความสง่างามซึ่งกันและกันอย่างลงตัว แบบบ้านโมเดิร์น

เราลองมาดูตัวอย่างบ้านไทยประยุกต์ในรูปแบบต่างๆ กันบ้างดีกว่าว่าจะสวยและน่าอยู่ขนาดไหน

แบบบ้านไทยประยุกต์ใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว สไตล์ภาคกลาง

บ้านสไตล์ไทยประยุกต์

ด้วยสภาพภูมิประเทศของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มและมักจะปลูกเรือนติดริมน้ำ เพื่อสะดวกต่อการเดินทางสัญจรทางน้ำและการประกอบอาชีพกสิกรรม ตัวบ้านจึงถูกออกแบบให้ยกใต้ถุนสูง ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากแล้ว ใต้ถุนบ้านที่โล่งจะช่วยให้ลมพัดผ่านได้ดี property phuket อีกทั้งยังสามารถป้องกันอันตรายจากสัตว์นานาชนิด และจากภูมิอากาศที่มีทั้งฝนและแดด การออกแบบรูปทรงหลังคาหน้าจั่วที่มีองศาความชันสูงจะช่วยเรื่องการระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วซึมของหลังคา อีกทั้งหลังคาทรงสูงมีพื้นผิวที่รับแสงแดดน้อยกว่า จึงส่งผลให้ภายในบ้านมีอากาศเย็นสบายคลายร้อนได้อย่างรวดเร็ว

แบบบ้านไม้ไทยประยุกต์ ผสมปูนแบบใต้ถุนสูง สไตล์เมืองล้านนา

บ้านสไตล์ไทยประยุกต์

การออกแบบบ้านไทยประยุกต์ในภาคเหนือมีความแตกต่างออกไปจากภาคกลาง ด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงเรื่องของดินฟ้าอากาศที่ยังแตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ทำให้มีภูมิอากาศหนาวเย็นกว่าทุกภาค แบบบ้านไทยประยุกต์ถิ่นล้านนาจึงนิยมการออกแบบหลังคาทรงจั่ว ชายคาบ้านที่ยื่นออกมา พร้อมยอดจั่วประดับกาแลหรือแผ่นไม้สี่เหลี่ยมไขว้กันที่แกะสลักปลายไม้อย่างอ่อนช้อยงดงาม มีหน้าต่างบ้านลักษณะบานกระทุ้งโดยเจาะช่องขนาดเล็กและแคบเพื่อกันลมหนาว ส่วนใต้ถุนบ้านจะยกพื้นไม่สูงมากนัก เพราะพื้นดินสามารถช่วยเพิ่มอุณภูมิให้ความอบอุ่นภายในบ้านได้ดีเช่นกัน property phuket

แบบบ้านไทยประยุกต์สองชั้น ไม้ผสมปูน สไตล์แดนอีสาน

บ้านสไตล์ไทยประยุกต์

แบบบ้านไทยประยุกต์ของภาคอีสาน มักยกให้มีพื้นที่โล่งใต้เรือนที่เรียกว่าบ้านใต้ถุนสูง โดยปล่อยโล่งไว้สำหรับเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ซึ่งในอดีตเป็นที่สำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ทางการเกษตรและประกอบอาชีพหัตถกรรมนอกฤดูเพาะปลูก เช่นการทอผ้า เป็นต้น ส่วนการออกแบบหลังคาหน้าจั่วจะมีองศาความชันที่น้อยกว่าภาคกลาง โครงสร้างภายนอกและภายในบ้านค่อนข้างทึบมักมีบานหน้าต่างเป็นช่องแคบๆ  เพื่อช่วยป้องกันลมพัดแรงและอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาวพูลวิลล่า ภูเก็ต

แบบบ้านไทยประยุกต์ ชั้นเดียวยกสูง สไตล์ภาคใต้ 

บ้านสไตล์ไทยประยุกต์

ภาคใต้นับเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ซึ่งประกอบด้วยชาวไทยพุทธและมุสลิมผสมกลมกลืนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยการออกแบบเสาเรือนจะเป็นเสาไม้บนฐานคอนกรีตหรือเป็นแบบเสาคอนกรีต ยกพื้นบ้านให้มีความสูงพอแค่เดินลอดได้ เพราะสาเหตุจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีพายุใต้ฝุ่น พายุฝน ลมแรง จึงต้องออกแบบโครงสร้างให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ส่วนทรงหลังคานั้นจะแตกต่างกันออกไป สำหรับบ้านชาวพุทธในภาคใต้จะปรากฏในรูปแบบหลังคาทรงจั่วแบบไม่มีการตกแต่งหน้าจั่ว ส่วนบ้านแบบของชุมชนชาวไทยมุสลิมจะนิยมแบบหลังคาทรงปั้นหยา และทรงหลังคามนิลาหรือหลังคาบรานอร์

ที่เป็นการผสมผสานระหว่างทรงหลังคาจั่วกับหลังคาปั้นหยา โดยหน้าจั่วจะค่อนข้างเตี้ยกว่าและเพิ่มเติมลายไม้ฉลุที่บริเวณส่วนยอดจากการสร้างบ้านในรูปแบบต่างๆ ที่ได้นำเสนอไป จะเห็นได้ว่า ส่วนสำคัญของการสร้างบ้าน ไม่ใช่เพียงเรื่องของความสวยงามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภูมิศาสตร์ที่ตั้งของบ้านและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่น รวมทั้งภูมิปัญญาและคติความเชื่อต่างมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้การออกแบบบ้านในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันออกไป แต่ก็จะเห็นได้ว่า ในแต่ละท้องถิ่นต่างล้วนคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต พร้อมสอดรับกับธรรมชาติแวดล้อมอย่างลงตัว เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้อาศัย

You may also like...